วิเคราะห์ แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ใครได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

วิเคราะห์ แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ใครได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

เคาะแล้ว! แบงก์ชาติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปีตามที่คาดการณ์ โดยผลบังคับใช้ทันทีวันนี้ 28 กันยายน 2565 วิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจ คาดการณ์ช่วยเพิ่มจีดีพีในประเทศไทยในปี 2566 เป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์

ความคืบหน้าของแนวทางการแก้ปัญหาเงินบาทอ่อนค่าล่าสุด 

แบงคก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ 28 กันยายน 2565 มีมติเป็นเอกฉันท์ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +02.5 เปอร์เซ็นต์ จาก 0.75 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมีผลทันที

อย่างไรก็ตามจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขอธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อคนไทยผู้ที่ทำธุรกรรมการเงินกู้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ กับการต้องแบกรับภาระค่าผ่อนต่อเดือนที่เพิ่มสูงตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น

เลาะตะเข็บ ผลกระทบแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยเป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคำนึงถึงสาเหตุที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ จำต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 1.00 ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตจาก 3.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566 และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะลดลงในปี 2566 ซึ่งมีปัจจัยหนุนเสริมมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจภาคเอกชน ที่ได้รับแรงกดดันจากวิกฤติเงินบาทอ่อนค่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา จนวันที่ 28 ก.ย. 65 เปิดตลาดที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อีกนัยหนึ่งเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง ก็จะเป็นผลดีต่อกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะทำให้ชาวต่างชาติอยากเดินทางมาเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น กระตุ้นภาคธุรกิจเอกชนและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ทำกิจการส่งออกก็จะได้กำไรกลับมาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ในข่ายนี้ผลเสียของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้คนไทยที่กู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องแบบรับหนี้สินจากการผ่อนต่อเดือนหนักยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลเสียจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1 เปอร์เซ็นต์ในครั้งนี้ คือผู้ที่ต้องกู้ซื้อบ้าน เพราะอาจต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามการปรับตัวของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน อีกด้านหนึ่งการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อตลาดตราสารหนี้ เพราะนักลงทุนจะมองหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในการทำกำไร และผู้ที่ฝากเงินในธนาคารก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ เป็นไปตามกลไกของเศรษฐกิจ มีทั้งผลกระทบในด้านดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การวางแผนการเงินของแต่ละบุคคล.

Bond Yield 10 ปี วันนี้ +4% ครั้งแรกในรอบ 12 ปี สวนทางมูลค่าหุ้น คริปโตและค่าเงินบาท

Bond Yield อายุ 10 ปี วันนี้ เพิ่มขึ้น 4% ครั้งแรกในรอบ 12 ปี บีบตลาดหุ้น Dow Jones และ S&P500 ให้ลดต่ำลง ท่ามกลางการปรับดอกเบี้ย ที่เร่งค่าเงินบาทให้อ่อนแตะ 38 บาทต่อดอลลาร์ ยังคงน่าจับตามองสำหรับ ดอกเบี้ย Bond Yield (บอนด์ยีลด์) หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี ซึ่งล่าสุดในวันที่ 28 กันยายน 2022 ได้มีการปรับตัวขึ้นแตะ 4% เป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ เร่งให้เกิดการเทขายหุ้น จน Dow Jones และ S&P500 ติดลบถึง 1%

การปรับตัวขึ้นของผลตอบแทน Bond Yield ทำให้นักลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เกิดความระส่ำระส่าย เนื่องจากทันทีที่ค่าผลตอบแทนของ Bond Yield แตะในระดับ 4% ทำให้ความน่าลงทุนของตลาดหุ้นและคริปโตลดต่ำลงไปด้วย เหตุเพราะนักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ในการซื้อขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

ในปัจจุบันเมื่อผลตอบแทนของ Bond Yield เพิ่มมากขึ้น ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยมากกว่า เพราะการถือครองพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี ทำกำไรจาก Bond Yield ได้โดยไร้ความเสี่ยง หากเทียบกับการซื้อขายในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น บิตคอยน์หรือหุ้น

การปรับตัวที่สูงขึ้นของ Bond Yield ทำให้ทั่วโลกคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางของสหรัฐจะต้องเร่งปรับดอกเบี้ยค่าเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ซึ่งอาจบีบให้ค่าเงินทั่วโลก อ่อนค่าลงเรื่อย ๆ เช่น ค่าเงินบาทไทยที่วันนี้แตะระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์ และอาจเป็นตัวเร่งบั่นทอน การขยายตัวของกำไรบริษัทหลายแห่งทั่วโลก เหตุเพราะจะทำให้การกู้ยืมเงินมีต้นทุนที่สูงมากขึ้น

สำหรับมูลค่าดอกเบี้ยของ Bond Yield ที่พุ่งขึ้นแตะ 4% ในครั้งนี้ ถือเป็นการหวนคืนจุดทำกำไรครั้งใหญ่ในรอบ 12 ปี หลังจากที่เคยทำไว้ในวันที่ 5 เมษายน 2010 ทำให้ตลาด NASDAQ  ที่ถือหุ้นในกลุ่มนี้ อาจปรับตัวลงอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

ทั้งนี้โดยปกติ อัตราผลตอบแทน 10 ปีที่เพิ่มสูงขึ้นถือเป็นสัญญาณความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่สดใสขึ้น คริส โลว์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ FHN Financial ในนิวยอร์กกล่าวว่า “เป็นการเตือนว่าอัตราเงินเฟ้อไม่สามารถรักษาตัวเองได้เหมือนที่เคยเป็นมาในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา”

ทางด้าน Daniel Tenengauzer หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดของ BNY Mellon ในนิวยอร์กกล่าวว่า “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรโน้มเอียงไปทางหรือสูงกว่า 4% หมายความว่าตลาดกำลังกำหนดราคาในนโยบายที่เข้มงวดขึ้น”

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า